Translate

〓ประเทศรัสเซีย

 สหพันธรัฐรัสเซีย
Российская Федерация (รัสเซีย)
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด) มอสโก
55°45′N 37°37′E / 55.750°N 37.617°E
ภาษาราชการ ภาษารัสเซีย
การปกครอง สหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี
 - ประธานาธิบดี วลาดีมีร์ ปูติน
 - นายกรัฐมนตรี ดมีตรี เมดเวเดฟ
 - ประธานสภาสหพันธ์ วาเลนตินา มัตวิเยนโก
 - ประธานสภาดูมา เซียเกย์ นารีชกิน
ก่อตั้ง
 - ราชวงศ์รูริก พ.ศ. 1405 
 - จักรวรรดิเคียฟรุส พ.ศ. 1425 
 - วลาดีมีร์-ซุซดัล พ.ศ. 1712 
 - แกรนด์ดัชชีมอสโก พ.ศ. 1826 
 - ซาร์รัสเซีย 16 มกราคม พ.ศ. 2090 
 - จักรวรรดิรัสเซีย 22 ตุลาคม พ.ศ. 2264 
 - สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 
 - สหภาพโซเวียต 10 ธันวาคม พ.ศ. 2465 
 - สหพันธรัฐรัสเซีย 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534 
พื้นที่
 - รวม [[1 E12 m² | 17,098,242
17,124,442 (รวม ไครเมีย และ เซวัสโตปอล) ตร.กม.]] (1)
6,592,745 ตร.ไมล์ 
 - แหล่งน้ำ (%) 4.2 [1]
ประชากร
 - 2557 (ประเมิน) 143,700,000[2]
146,046,001 (รวม ไครเมีย และ เซวัสโตปอล) (9)
 - ความหนาแน่น 8.3 คน/ตร.กม. (217)
21.5 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2554 (ประมาณ)
 - รวม 2.376 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ[3] (6)
 - ต่อหัว 16,840 ดอลลาร์สหรัฐ[3] 
จีดีพี (ราคาตลาด) 2554 (ประมาณ)
 - รวม 1.894 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] (9)
 - ต่อหัว 13,542 ดอลลาร์สหรัฐ[3] 
จีนี (2551) 42.3[4] 
HDI (2554) ▲ 0.755[5] (สูง) (66)
สกุลเงิน รูเบิล (RUB)
เขตเวลา (UTC+2 ถึง +12)
 - (DST) (UTC+3 ถึง +13)
โดเมนบนสุด .ru, .su, .рф
รหัสโทรศัพท์ +7
รัสเซีย (รัสเซีย: Россия, ถอดเสียง ราซียา; [rɐˈsʲijə]) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (รัสเซีย: Российская Федерация, ถอดเสียง ราซีย์สกายาฟิดิรัตซียา; [rɐˈsʲijskəjə fʲɪdʲɪˈratsɨjə])[6] เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน[7][8] รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนียลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสก์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก[9] และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก[10] เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก[11] รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก[12]
ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8[13] รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน พ.ศ. 1531 มีการรับศาสนาคริสต์นิกายออร์โธด็อกซ์จากจักรวรรดิไบแซนไทน์[14]เริ่มต้นการประสมวัฒนธรรมไบแซนไทน์และสลาฟซึ่งนิยามวัฒนธรรมรัสเซียเป็นเวลาอีกสหัสวรรษหน้า[14] ท้ายที่สุด รุสล่มสลายเป็นรัฐขนาดเล็กหลายรัฐ พื้นที่ส่วนใหญ่ของรุสถูกพิชิตโดยการรุกรานของมองโกล และกลายเป็นรัฐบรรณาการของโกลเดนฮอร์ดเร่ร่อน[15] อาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งมอสโกค่อย ๆ รวมราชรัฐรัสเซียในละแวก ได้รับเอกราชจากโกลเดนฮอร์ด และมาครอบงำมรดกทางวัฒนธรรมและการเมืองของเคียฟรุส จนคริสต์ศตวรรษที่ 18 รัสเซียได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางผ่านการพิชิตดินแดน การผนวก และการสำรวจเป็นของจักรวรรดิรัสเซีย นับเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดอันดับสามในประวัติศาสตร์ แผ่จากโปแลนด์ในยุโรปจรดอะแลสกาในอเมริกาเหนือ[16][17]
หลังการปฏิวัติรัสเซีย รัสเซียกลายมาเป็นสาธารณรัฐใหญ่ที่สุดและผู้นำในสหภาพโซเวียต เป็นรัฐสังคมนิยมมีรัฐธรรมนูญแห่งแรกของโลกและอภิมหาอำนาจที่ได้การยอมรับ[18] ซึ่งมีบทบาทสำคัญในชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง[19][20] สมัยโซเวียตได้ประสบความสำเร็จทางเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดของคริสต์ศตรวรรษที่ 20 รวมทั้งการส่งมนุษย์คนแรกขึ้นสู่อวกาศ สหพันธรัฐรัสเซียก่อตั้งขึ้นหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน พ.ศ. 2534 แต่ได้รับการยอมรับเป็นสภาพบุคคลสืบทอดจากสหภาพโซเวียต[21]
รัสเซียมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดอันดับที่ 11 ของโลกโดยจีดีพีมูลค่าตลาด หรือใหญ่ที่สุดอันดับที่ 6 โดยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ โดยมีงบประมาณทางทหารมากที่สุดอันดับที่ 5 ของโลก ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจธุรกิจจัดอันดับรัสเซียเป็นเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับที่ 9 ของโลกใน พ.ศ. 2554 ขึ้นจากอันดับที่ 10 ใน พ.ศ. 2553 รัสเซียเป็นหนึ่งในห้ารัฐอาวุธนิวเคลียร์ที่ได้รับการรับรองและครอบครองคลังแสงอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงใหญ่ที่สุดในโลก[22] รัสเซียเป็นมหาอำนาจและสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สมาชิกจี 8 จี 20 สภายุโรปและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ ประชาคมเศรษฐกิจยูเรเซียองค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป องค์การการค้าโลก และเป็นสมาชิกผู้นำเครือจักรภพรัฐเอกราช
== ภูมิศาสตร์ ==กุ้ง ดินแดนอันกว้างใหญ่ของสหพันธรัฐรัสเซียครอบคลุมพื้นที่แถบตะวันออกเฉียงเหนือเหนือของทวีปยูเรเชีย จุดที่ห่างไกลกันที่สุดของรัสเซีย ซึ่งได้แก่ชายแดนที่ติดต่อกับโปแลนด์และหมู่เกาะคูริล มีระยะห่างถึง 8,000 กิโลเมตร ทำให้รัสเซียมีถึง 11 เขตเวลา[23] รัสเซียมีเขตป่าสงวนที่ใหญ่ที่สุดในโลก[12] และถูกเรียกว่าเป็น "ปอดของยุโรป"[24] เพราะปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดูดซึมนั้นเป็นรองเพียงแค่ป่าดิบชื้นแอมะซอนเท่านั้น[24] รัสเซียมีทางออกสู่มหาสมุทรถึงสามแห่ง ได้แก่มหาสมุทรแอตแลนติก อาร์กติก และแปซิฟิก จึงทำให้รัสเซียเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่ออุปทานของสินค้าประมงในโลก[25]
พื้นที่ส่วนใหญ่ของรัสเซียเป็นที่ราบกว้างใหญ่ ทางตอนใต้ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสเตปป์ มีป่าไม้มากทางตอนเหนือ และมีพื้นที่แบบทุนดราตามชายฝั่งทางเหนือ เทือกเขาจะอยู่ตามชายแดนทางใต้ เช่นเทือกเขาคอเคซัส ซึ่งมียอดเขาเอลบรุส ที่มีความสูง 5,642 เมตรและเป็นจุดสูงสุดของรัสเซียและยุโรป หรือเทือกเขาอัลไต และทางตะวันออก เช่นเทือกเขาเวอร์โฮยันสค์ หรือภูเขาไฟในแหลมคัมชัตคา เทือกเขาอูรัลทางตะวันตกวางตัวเหนือใต้และเป็นเขตแดนทางธรรมชาติของทวีปเอเชียและทวีปยุโรป
รัสเซียมีชายฝั่งที่ยาวถึง 37,000 กิโลเมตร ตามแนวมหาสมุทรอาร์กติก มหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลบอลติก ทะเลอะซอฟ ทะเลดำ และทะเลแคสเปียน[26] นอกจากนั้น รัสเซียยังมีทางออกสู่ทะเลแบเร็นตส์ ทะเลขาว ทะเลคารา ทะเลลัปเตฟ ทะเลไซบีเรียนตะวันออก ทะเลชุคชี ทะเลเบริง ทะเลโอคอตสค์ และทะเลญี่ปุ่น เกาะและหมู่เกาะที่สำคัญได้แก่ หมู่เกาะโนวายาเซมเลีย หมู่เกาะฟรัสซ์โยเซฟแลนด์ หมู่เกาะเซเวอร์นายาเซมเลีย หมู่เกาะนิวไซบีเรีย เกาะแวรงเกล เกาะคูริล และเกาะซาคาลิน เกาะดีโอมีด (ซึ่งเกาะหนึ่งปกครองโดยรัสเซีย ส่วนอีกเกาะปกครองโดยสหรัฐอเมริกา) อยู่ห่างกันเพียง 3 กิโลเมตร และเกาะคุนาชิร์ก็อยู่ห่างจากฮกไกโดเพียงประมาณ 20 กิโลเมตร

ประวัติศาสตร์รัสเซีย
ชาวสลาฟตะวันออกเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถื่นฐานในรัสเซียบริเวณแม่น้ำนีเปอร์และแม่น้ำวอลกาทางตอนใต้ของประเทศ ส่วนทางตอนเหนือชนชาติสแกนดิเนเวียและไวกิ้งที่รู้จักกันในนามวารันเจียน ได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำเนวา และทะเลสาบลาโดกา ทำการติดต่อค้าขายกับชาวสลาฟ แต่แล้วในปี ค.ศ. 880 กษัตริย์แห่งวาแรนเจียนนามรูริค ก็เข้ามายึดเมืองเคียฟของชาวสลาฟและตั้งเคียฟเป็นเมืองหลวง โดยผนวกดินแดนทางเหนือกับใต้เข้าด้วยกันแล้วขนานนามว่า เคียฟรุส (Kievan Rus') และสถาปนาราชวงศ์รูริคขึ้น
ในปี ค.ศ. 978 เจ้าชายวลาดีมีร์ โมโนมัค ขึ้นครองราชย์และทรงนำศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์เข้าสู่รัสเซีย ซึ่งต่อมามีบทบาทและอิทธิพลอย่างสูงต่อศิลปะ สถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมของประเทศ ในช่วงศตวรรษที่ 11 เคียฟเป็นนครหลวง ศูนย์รวมของอำนาจกษัตริย์และเป็นศูนย์กลางของคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ ในขณะที่เมืองอื่น ๆ ก็มีประชากรก่อตั้งขึ้นมาเช่นกัน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้กล่าวอ้างถึงมอสโกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1147 ว่าเจ้าชายยูริ ดอลโกรูกี มกุฎราชกุมารแห่งนครเคียฟ มีรับสั่งให้สร้างป้อมปราการไม้หรือ "เครมลิน" ขึ้นที่เนินเขาโบโรวิตสกายา ริมแม่น้ำมอสควา และตั้งชื่อเมืองว่า มอสโก

อาณาจักรมัสโควี

ต่อมาในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 กองทัพมองโกลนำโดยบาตูข่านเข้ารุกรานรัสเซียและยึดเมืองเคียฟได้สำเร็จ หลังจากนั้นรัสเซียก็ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก โดยถูกควบคุมทางการเมือง การปกครอง และยังต้องจ่ายภาษีให้กับชาวมองโกล กษัตริย์และพระราชาคณะจึงย้ายศูนย์กลางอำนาจขึ้นมาทางตอนเหนือ
ในปี 1328 พระเจ้าอีวานที่ 1 ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ พระองค์ทรงมีฉายาว่าอีวานถุงเงิน เนื่องจากทรงเก็บส่วยและเครื่องบรรณาการเพื่อส่งให้แก่ชาวมองโกล และในยุคนี้เองที่กษัตริย์ได้ย้ายที่ประทับมาที่มอสโก ต่อมาในยุคของพระเจ้าอีวานที่ 2 (ค.ศ. 1353-1359) ชาวมองโกลเริ่มเสื่อมอำนาจ เจ้าชายดมิตรี โอรสแห่งพระเจ้าอีวานที่ 2 ทรงขับไล่มองโกลได้สำเร็จในการรบที่คูลีโคโวบนฝั่งแม่น้ำดอน ต่อมาในปี 1380 พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็น ดมีตรี ดอนสกอย (ดมีตรีแห่งแม่น้ำดอน) ได้รวมเมืองวลาดิมีร์และซุลดัล อันเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรมัสโควี และยังได้บูรณะเครมลินเป็นกำแพงหินขาวแทนไม้โอ๊ก มอสโกจึงมีอีกชื่อเรียกว่า เมืองกำแพงหินขาว ในยุคนั้น แต่เพียงไม่นานพวกตาตาร์ก็กลับมาทำลายเครมลินจนพินาศ รัสเซียต้องเป็นเมืองขึ้นของตาตาร์อีกครั้งหนึ่งในปี 1382
จนเข้าสู่สมัยของพระเจ้าอีวานที่ 3 หรือพระเจ้าอีวานมหาราช (ค.ศ. 1462-1505) พระองค์ทรงอภิเษกกับหลานสาวของจักรพรรดิองค์ก่อนแห่งไบแซนไทน์ในปี 1472 และรับอินทรีสองเศียรเป็นสัญลักษณ์ของรัสเซีย ในยุคของพระองค์ได้รวบรวมดินแดนให้กลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1480 ทรงขับไล่กองกำลังตาตาร์ออกจากรัสเซียจนหมดสิ้น ปิดฉากสองศตวรรษภายใต้การปกครองของมองโกล ทรงบูรณะเครมลินให้เป็นหอคอยสูงและโบสถ์งดงามไว้ภายในเครมลิน นับเป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองของรัสเซีย
ปี 1574 พระเจ้าอีวานที่ 4 (1533-1584) หลานของพระเจ้าอีวานมหาราช ได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าซาร์องค์แรก (ซาร์ มาจากคำว่า ซีซาร์ ผู้ครองอำนาจแห่งจักรวรรดิโรมันและไบแซนไทน์) พระองค์ทรงปกครองอาณาจักรด้วยความเหี้ยมโหด ปราศจากความเมตตา ว่ากันว่ามีรับสั่งให้ควักลูกตาสถาปนิกผู้ออกแบบสร้างมหาวิหารเซนต์บาซิล เพื่อมิให้สร้างสิ่งก่อสร้างที่งดงามเช่นนี้ได้ที่ใดอีก ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงถูกขนานนามว่า อีวานผู้โหดเหี้ยม ต่อมาเมื่อหมดยุคของพระองค์ในปี ค.ศ. 1584 มอสโกก็ประสบปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างรุนแรง มีการแย่งชิงราชบัลลังก์ระหว่างราชวงศ์รูริค และโรมานอฟ ในที่สุดสมัชชาแห่งชาติและพระราชาคณะแห่งคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ก็มีมติเลือก มิคาอิล โรมานอฟ ขึ้นเป็นซาร์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์โรมานอฟ

 จักรวรรดิรัสการตัดสินใจเขาร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของซาร์นิโคลัสที่ 2 นั้นนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ทั้งชีวิตของทหารและชาวรัสเซียนับล้านที่เมื่อรัสเซียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ การจลาจลเกิดขึ้นทั่วเมือง ในที่สุดปี 1917 จึงเกิดการปฏิวัติล้มล้างระบบซาร์ พระเจ้านิโคลัสที่ 2 สละราชสมบัติ มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลเฉพาะกิจเคอเรนสกีขึ้นบริหารประเทศ แต่พรรคบอลเชวิค (Bolshevik) นำโดยวลาดีมีร์ เลนินก็ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการบริหารประเทศไว้ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบคอมมิวนิสต์พร้อมทั้งประกาศให้ประเทศเป็น สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Union of Soviet Socialist Repubilcs หรือ USSR)
ปี ค.ศ. 1918 ย้ายเมืองหลวงและฐานอำนาจกลับสู่มอสโก กระนั้นก็ยังมีผู้ไม่พอใจกับสภาพแร้นแค้น การขาดสิทธิเสรีภาพ จึงทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นหลายต่อหลายครั้ง เลนินถึงแก่อสัญกรรมในปี 1924 โจเซฟ สตาลิน (1924-1953) ขึ้นบริหารประเทศแทนด้วยความเผด็จการ และกวาดล้างทุกคนผู้ที่มีความคิดต่อต้าน เขาเปิดการพัฒนาประเทศสู่อุตสาหกรรมสมัยใหม่ จนเทียบเคียงสหรัฐอเมริกา แต่ปัญหาความอดอยาก ที่เรื้อรังมานานก็ยากเกินเยียวยา และยิ่งเลวร้ายเมื่อฮิตเลอร์สั่งล้อมมอสโกไว้ โดยเฉพาะที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กถูกปิดล้อมไว้นานถึง 900 วันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ชาวรัสเซียเรียกสงครามครั้งนั้นว่า มหาสงครามของผู้รักชาติ (The Great Patriotic War) กระนั้นสตาลินก็มีบทบาทในการพิชิตนาซีเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1941-1945) นี้ไว้ได้
ปี ค.ศ. 1955 นีกีตา ครุชชอฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำโดยมีแนวคิดในการบริหารประเทศที่เน้นการอยู่ร่วมกัน มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนผ่อนคลายความเข้มงวดให้น้อยกว่าสมัยสตาลิน รวมถึงเปิดเครมลินเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชนได้เข้าชมอีกด้วย ปี 1964 ครุชชอฟลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคแทน เบรจเนฟแผ่อิทธิพลไปถึงจีน คิวบา และอัฟกานิสถาน เพิ่มความเครียดไปทั่วโลก เขาจึงนำนโยบายต่างประเทศที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อ การผ่อนคลายความตึงเครียด มาใช้โดยปี1980 มอสโกได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 22
ปี ค.ศ. 1985 มิฮาอิล กอร์บาชอฟขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมิวนิสต์ เขาเป็นผู้นำการปฏิรูปโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เรียกว่า เปเรสตรอยกา(Perestroyka) โดยนำพาประเทศเข้าสู่ระบบทุนนิยม มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และพัฒนาฝีมือแรงงานรวมถึงเสนอนโยบายเปิดกว้างกลาสนอสต์ (Glasnost) คือให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชน มีการติดต่อด้านการค้ากับตะวันตก รวมถึงถอนกำลังออกจากยุโรปตะวันออกและอัฟกานิสถานและยังได้เข้าร่วมกับองค์การนาโต หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ในปี ค.ศ. 1990 กอร์บาชอฟได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ รวมถึงได้รับยกย่องจากนิตยสารไทม์เป็นบุรุษแห่งทศวรรษ (Man of the Decade) กระนั้นปัญหาขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค และความล้าหลังทางการผลิตที่สั่งสมมานานก็ทำให้นโยบายเปเรสตรอยกาล้มเหลว ความนิยมในกอร์บาชอฟเริ่มตกลง ต่อมาเกิดรัฐประหารขึ้นในเดือนสิงหาคม 1991 โดยกลุ่มคอมมิวนิสต์หัวเก่าที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงสู่ตลาดเสรี แต่บอริส เยลต์ซิน ก็สามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ กอร์บาชอฟจึงสิ้นคะแนนนิยมอย่างแท้จริง เขาประกาศลาออกจากตำแหน่ง รวมถึงประกาศยกเลิกพรรคคอมมิวนิสต์ต่อหน้ามหาชน พร้อมด้วยการก้าวขึ้นเป็นผู้นำของเยลต์ชิน สหภาพโซเวียตจึงล่มสลาย สาธารณรัฐต่างๆ ทั้ง 15 สาธารณรัฐแยกตัวเป็นอิสระ รวมทั้งสาธารณรัฐรัสเซีย (Russian SFSR) ภายใต้ชื่อใหม่ว่า สหพันธรัฐรัสเซียเซีย
ค.ศ. 1613-1917 พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช (ค.ศ. 1682-1725) ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์รัสเซีย พระองค์ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุ 10 ชันษา พร้อมกับพระเจ้าอีวานที่ 5 (เป็นกษัตริย์บัลลังก์คู่) จนในปี 1696 เมื่อพระเจ้าอีวานที่ 5 สิ้นพระชนม์ พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช จึงมีพระราชอำนาจโดยแท้จริง ในยุคของพระองค์ทรงขยายอาณาเขตรัสเซียออกไปทางตะวันออกถึงวลาดีวอสตอค และทรงใช้นโยบายสู้ตะวันตก ทรงนำรัสเซียเข้าสู่ยุคใหม่ โดยในปีค.ศ. 1712 ทรงย้ายเมืองหลวงจากมอสโกมาที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเป็นครั้งแรกที่มีการจัดตั้งกองทหารราชนาวีขึ้นในรัสเซีย ทั้งยังทรงนำช่างฝีมือจากฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ มาสร้างวิหารและพระราชวังที่งดงามอีกมากมาย และทรงนำพาจักรวรรดิรัสเซียให้เป็นที่รู้จักเกรียงไกรในสังคมโลก ถัดจากพระเจ้าปีเตอร์มหาราชยังมีซาร์และซารีนาอีกหลายพระองค์ที่สืบราชบัลลังก์ ทว่าผู้ที่สร้างความเจริญเฟื่องฟูให้กับรัสเซียสูงสุด ได้แก่ พระนางเจ้าแคทเธอรีนที่ 2 (ค.ศ. 1762-1796) พระนางได้รับการยกย่องให้เป็นราชินี ด้วยทรงเชี่ยวชาญด้านการปกครองอย่างมาก กระนั้นพระนางก็มีชื่อเสียงด้านลบด้วยพระนางมีคู่เสน่หามากมาย
ผู้สืบราชวงศ์องค์ต่อมาคือ พระเจ้าพอลล์ที่ 1 (ค.ศ. 1796-1801) พระราชโอรสของพระนางเจ้าแคทเทอรีน ทรงครองราชย์อยู่เพียงระยะสั้น จากนั้นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 (1801- 1825) พระราชโอรสสืบพระราชบัลลังก์ต่อ ในปี 1812 ทรงทำศึกชนะจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส แต่แล้วในช่วงปลายรัชกาล เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบบรัฐสภา ปี 1825 เกิดกบฏต่อต้านราชวงศ์ขึ้นในเดือนธันวาคม เรียก กบฏธันวาคม (Decembrist Movement) แต่พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 (ค.ศ. 1825-1855) ก็ทรงปราบกลุ่มผู้ต่อต้านไว้ได้ พอมาในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 (ค.ศ. 1855-1881) พระองค์ทรงมีฉายาว่า Tzar Liberator (ซาร์ผู้ปลดปล่อย) เนื่องจากพระองค์ทรงปลดปล่อยทาสติดที่ดิน (Serf) หลายล้านคนให้พ้นจากการเป็นทาส แต่พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ที่นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในปี 1881 ทิ้งไว้เพียงอนุสรณ์สถานที่สร้างอุทิศแด่พระองค์ ณ จุดที่ถูกลอบปลงพระชนม์ ซาร์องค์ต่อมาคือ อเล็กซานเดอร์ที่ 3 (ค.ศ. 1881-1894) จนถึงซาร์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โรมานอฟ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 (1894-1917) ความเหลื่อมล้ำกันทางชนชั้น และความยากจน ก่อให้เกิดการปฏิวัติเป็นครั้งแรกโดนกรรมการชาวนาในปี 1905 ซึ่งมีผู้ถูกยิงเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เรียกเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า วันอาทิตย์เลือด Bloody Sunday และสุดท้ายคือการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 กระนั้นชนวนที่ทำให้ราชวงศ์โรมานอฟและระบอบซาร์ถึงกาลอวสานก็มีปัจจัยอื่นเช่นกัน
สมัยสหภาพโซเวียต

การตัดสินใจเขาร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของซาร์นิโคลัสที่ 2 นั้นนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ทั้งชีวิตของทหารและชาวรัสเซียนับล้านที่เมื่อรัสเซียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ การจลาจลเกิดขึ้นทั่วเมือง ในที่สุดปี 1917 จึงเกิดการปฏิวัติล้มล้างระบบซาร์ พระเจ้านิโคลัสที่ 2 สละราชสมบัติ มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลเฉพาะกิจเคอเรนสกีขึ้นบริหารประเทศ แต่พรรคบอลเชวิค (Bolshevik) นำโดยวลาดีมีร์ เลนินก็ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการบริหารประเทศไว้ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบคอมมิวนิสต์พร้อมทั้งประกาศให้ประเทศเป็น สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Union of Soviet Socialist Repubilcs หรือ USSR)
ปี ค.ศ. 1918 ย้ายเมืองหลวงและฐานอำนาจกลับสู่มอสโก กระนั้นก็ยังมีผู้ไม่พอใจกับสภาพแร้นแค้น การขาดสิทธิเสรีภาพ จึงทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นหลายต่อหลายครั้ง เลนินถึงแก่อสัญกรรมในปี 1924 โจเซฟ สตาลิน (1924-1953) ขึ้นบริหารประเทศแทนด้วยความเผด็จการ และกวาดล้างทุกคนผู้ที่มีความคิดต่อต้าน เขาเปิดการพัฒนาประเทศสู่อุตสาหกรรมสมัยใหม่ จนเทียบเคียงสหรัฐอเมริกา แต่ปัญหาความอดอยาก ที่เรื้อรังมานานก็ยากเกินเยียวยา และยิ่งเลวร้ายเมื่อฮิตเลอร์สั่งล้อมมอสโกไว้ โดยเฉพาะที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กถูกปิดล้อมไว้นานถึง 900 วันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ชาวรัสเซียเรียกสงครามครั้งนั้นว่า มหาสงครามของผู้รักชาติ (The Great Patriotic War) กระนั้นสตาลินก็มีบทบาทในการพิชิตนาซีเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1941-1945) นี้ไว้ได้
ปี ค.ศ. 1955 นีกีตา ครุชชอฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำโดยมีแนวคิดในการบริหารประเทศที่เน้นการอยู่ร่วมกัน มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนผ่อนคลายความเข้มงวดให้น้อยกว่าสมัยสตาลิน รวมถึงเปิดเครมลินเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชนได้เข้าชมอีกด้วย ปี 1964 ครุชชอฟลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคแทน เบรจเนฟแผ่อิทธิพลไปถึงจีน คิวบา และอัฟกานิสถาน เพิ่มความเครียดไปทั่วโลก เขาจึงนำนโยบายต่างประเทศที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อ การผ่อนคลายความตึงเครียด มาใช้โดยปี1980 มอสโกได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 22
ปี ค.ศ. 1985 มิฮาอิล กอร์บาชอฟขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมิวนิสต์ เขาเป็นผู้นำการปฏิรูปโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เรียกว่า เปเรสตรอยกา(Perestroyka) โดยนำพาประเทศเข้าสู่ระบบทุนนิยม มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และพัฒนาฝีมือแรงงานรวมถึงเสนอนโยบายเปิดกว้างกลาสนอสต์ (Glasnost) คือให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชน มีการติดต่อด้านการค้ากับตะวันตก รวมถึงถอนกำลังออกจากยุโรปตะวันออกและอัฟกานิสถานและยังได้เข้าร่วมกับองค์การนาโต หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ในปี ค.ศ. 1990 กอร์บาชอฟได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ รวมถึงได้รับยกย่องจากนิตยสารไทม์เป็นบุรุษแห่งทศวรรษ (Man of the Decade) กระนั้นปัญหาขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค และความล้าหลังทางการผลิตที่สั่งสมมานานก็ทำให้นโยบายเปเรสตรอยกาล้มเหลว ความนิยมในกอร์บาชอฟเริ่มตกลง ต่อมาเกิดรัฐประหารขึ้นในเดือนสิงหาคม 1991 โดยกลุ่มคอมมิวนิสต์หัวเก่าที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงสู่ตลาดเสรี แต่บอริส เยลต์ซิน ก็สามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ กอร์บาชอฟจึงสิ้นคะแนนนิยมอย่างแท้จริง เขาประกาศลาออกจากตำแหน่ง รวมถึงประกาศยกเลิกพรรคคอมมิวนิสต์ต่อหน้ามหาชน พร้อมด้วยการก้าวขึ้นเป็นผู้นำของเยลต์ชิน สหภาพโซเวียตจึงล่มสลาย สาธารณรัฐต่างๆ ทั้ง 15 สาธารณรัฐแยกตัวเป็นอิสระ รวมทั้งสาธารณรัฐรัสเซีย (Russian SFSR) ภายใต้ชื่อใหม่ว่า สหพันธรัฐรัสเซีย
สหพันธรัฐรัสเซีย

บอริส เยลต์ซินได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีรัสเซียเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2534 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงครั้งแรกในประวัติศาสตร์รัสเซีย ระหว่างและหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ได้มีการปฏิรูปอย่างกว้างขวาง รวมทั้งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนการเปิดเสรีตลาดและการค้า[27] และยังมีการเปลี่ยนแปลงลึกซึ้งตามแนวทาง "ชอคบำบัด" (shock therapy) ดังที่สหรัฐอเมริกาและกองทุนการเงินระหว่างประเทศแนะนำ[28] ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจครั้งใหญ่ ซึ่งรัสเซียมีจีดีพีและปริมาณการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงถึง 50% ระหว่าง พ.ศ. 2533-2538[29]
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ได้โอนการควบคุมวิสาหกิจจากหน่วยงานของรัฐไปเป็นของปัจเจกบุคคลซึ่งมีความเชื่อมโยงภายในในระบบรัฐบาล นักธุรกิจที่ร่ำรวยขึ้นมาใหม่หลายคนได้นำเงินสดและสินทรัพย์นับพัน ๆ ล้านออกนอกประเทศในการโยกย้ายทุนขนานใหญ่[30] ภาวะตกต่ำของรัฐและเศรษฐกิจนำไปสู่การล่มสลายของบริการสังคม อัตราการเกิดตกฮวบ ขณะที่อัตราการตายพุ่งทะยาน ประชาชนหลายล้านคนอยู่ในภาวะยาจน จากระดับความยากจน 1.5% ในปลายยุคโซเวียต เป็น 39-49% ราวกลาง พ.ศ. 2536[31] คริสต์ทศวรรษ 1990 ได้เกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวงและความไม่มีกฎหมายสุดขีด การเพิ่มขึ้นของแก๊งอาชญากรและอาชญากรรมรุนแรง[32]
คริสต์ทศวรรษ 1990 รัสเซียได้เผชิญกับความขัดแย้งด้วยอาวุธในคอเคซัสเหนือ ทั้งการสู้รบประรายด้านชาติพันธุ์ท้องถิ่นและการก่อการกบฏของกลุ่มอิสลามแบ่งแยกดินแดน นับตั้งแต่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนเชเชนได้ประกาศเอราชในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ก็ได้เกิดสงครามกองโจรขึ้นเป็นระยะ ๆ ระหว่างกลุ่มกบฏกับกองทัพรัสเซีย กลุ่มแบ่งแยกดินแดนได้โจมตีก่อการร้ายต่อพลเรือน ที่มีชื่อเสีงที่สุด คือ วิกฤตการณ์ตัวประกันโรงละครมอสโก และการล้อมโรงเรียนเบสลัน ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยศพและเรียกความสนใจจากทั่วโลก
รัสเซียยอมรับความรับผิดชอบในการจัดการหนี้สินภายนอกของสหภาพโซเวียต แม้ประชากรรัสเซียจะมีเพียงครึ่งหนึ่งของประชากรสหภาพโซเวียตเมื่อสหภาพล่มสลายไปนั้น[33] การขาดดุลงบประมาณอย่างสูงเป็นเหตุของวิกฤตการณ์การเงินรัสเซีย พ.ศ. 2541[34] และยิ่งทำให้จีดีพีลดลงไปอีก[27]
วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ประธานาธิบดีเยลต์ซินลาออก ส่งมอบตำแหน่งต่อให้กับนายกรัฐมนตรีที่เพิ่งแต่งตั้งใหม่ วลาดีมีร์ ปูติน ผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี พ.ศ. 2543 ปูตินปราบปรามการก่อกบฏเชเชน แม้ความรุนแรงเป็นพัก ๆ ยังเกิดขึ้นทั่วคอเคซัสเหนือ ราคาน้ำมันที่สูงและเงินตราที่เดิมอ่อนค่าเกิดขึ้นหลังอุปสงค์ภายในที่เพิ่มขึ้น การบริโภคและการลงทุนได้ช่วยทำให้เศรษฐกิจโตขึ้นเก้าปีติดต่อกัน ซึ่งได้พัฒนาคุณภาพชีวิตและเพิ่มอิทธิพลของรัสเซียในเวทีโลก[35] แม้การปฏิรูปหลายอย่างที่ปูตินดำเนินการระหว่างดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีโดยทั่วไปมักถูกชาติตะวันตกวิจารณ์ว่าไม่เป็นประชาธิปไตย[36] แต่ความเป็นผู้นำของปูตินเหนือการฟื้นฟูความสงบเรียบร้อย เสถียรภาพและความก้าวหน้าได้ทำให้เขาเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในรัสเซีย[37]
วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551 ดมิทรี เมดเวเดฟได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีรัสเซีย ขณะที่ปูตินเป็นนายกรัฐมนตรี ปูตินกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดี พ.ศ. 2555 และเมดเวเดฟได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
ในห้วงวิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557 รัสเซียได้ผนวกสาธารณรัฐไครเมีย ซึ่งเกิดจากการรวมกันของสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียและนครเซวัสโตปอลตามการลงประชามติ

การเมืองการปกครอง

หลังจากวิกฤติทางการเมืองในปี 1993 รัสเซียมีการออกรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งได้รับการยอมรับโดยประชามติในวันที่ 12 ธันวาคม 1993 และเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ รัสเซียเป็นสหพันธรัฐซึ่งมีประธานาธิบดีเป็นประมุข[38] และ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล โดยรัฐบาลเป็นผู้มีอำนาจบริหาร[39] ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือนายวลาดีมีร์ ปูติน


ประเทศรัสเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น
46 มณฑล (Provinces - oblasti)
21 สาธารณรัฐ (Republics - respubliki )
9 ดินแดน (Territories - kraya )
4 เขตปกครองตนเอง (Autonomous districts - avtonomnyye okruga)
1 มณฑลปกครองตนเอง (Autonomous oblast - avtonomnaya oblast )
2 นครสหพันธ์ (Federal cities - federalnyye goroda ) คือ มอสโกและเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
 กองทัพสหพันธรัฐรัสเซีย

กองทัพรัสเซียแบ่งออกเป็นกองกำลังทางบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศ นอกจากนี้ยังมีสาขาช่วยรบ (arm of service) อิสระอีกสามสาขา ได้แก่ กองกำลังขีปนาวุธยุทธศษสตร์ กองกำลังป้องกันห้วงอากาศ-อวกาศ และหน่วยส่งทางอากาศ ในปี 2549 กองทัพรัสเซียมีกำลังพลประจำการ 1.037 ล้านนาย[40] ซึ่งบังคับเกณฑ์ให้พลเมืองชายอายุระหว่าง 18–27 ปีทุกคนรับราชการในกองทัพเป็นเวลาหนึ่งปี[35]
ประเทศรัสเซียมีคลังอาวุธนิวเคลียร์ใหญ่ที่สุดในโลก และมีกองเรือดำน้ำขีปนาวุธใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสอง และเป็นประเทศเดียวนอกจากสหรัฐอเมริกาที่มีกองกำลังเครื่องบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์สมัยใหม่[22][41] กองกำลังรถถังของรัสเซียใหญ่ที่สุดในโลก และกองทัพเรือผิวน้ำและกองทัพอากาศใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
ประเทศรัสเซียมีอุตสาหกรรมอาวุธขนาดใหญ่และผลิตในประเทศทั้งหมด โดยผลิตยุทโธปกรณ์ส่วนใหญ่เองโดยมีการนำเข้าอาวุธไม่กี่ชนิด ประเทศรัสเซียเป็นผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลกมาตั้งแต่ปี 2544 โดยมีการขายอาวุธคิดเป็นราว 30% ของทั่วโลก[42] และมีการส่งออกไปประมาณ 80 ประเทศ[43]
รายจ่ายทางทหารภาครัฐอย่างเป็นทางการในปี 2555 อยู่ที่ 90,700 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ มากเป็นอันดับสามของโลก แม้แหล่งข้อมูลต่าง ๆ จะประเมินว่ารายจ่ายทางทหารของรัสเซียสูงกว่านี้มาก[44] ปัจจุบัน การพัฒนายุทโธปกรณ์ครั้งใหญ่มูลค่าราว 200,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐอยู่ระหว่างดำเนินการในช่วงปี 2549 ถึง 2558[45]

รัสเซียเป็นแหล่งน้ำมันปิโตรเลียมและแก๊สธรรมชาติที่สำคัญของยุโรป[58]
รัสเซียมีแหล่งทรัพยากรแก๊สธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก[59] มีแหล่งทรัพยากรถ่านหินใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และมีแหล่งทรัพยากรน้ำมันที่ใหญ่เป็นอันดับแปดของโลก[60] รัสเซียเป็นประเทศที่ส่งออกแก๊สธรรมชาติมากเป็นอันดับหนึ่ง[61] และส่งออกน้ำมันมากเป็นอันดับสองของโลก[59] น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ โลหะ และไม้ เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญและมีมูลค่ามากถึงร้อยละ 80 ของการส่งออกทั้งหมด[26][62]แต่หลังปี 2003 การส่งออกทรัพยากรธรรมชาติก็เริ่มลดความสำคัญลงเพราะตลาดภายในประเทศขยายตัวขึ้นอย่างมาก แม้ว่าราคาทรัพยากรด้านพลังงานจะสูงขึ้นมาก แต่น้ำมันและแก๊สธรรมชาติก็มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 5.7 ของจีดีพี และรัฐบาลคาดการณ์ว่าสัดส่วนนี้จะลดลงเหลือร้อยละ 3.7 ภายในปี 2011[63] รัสเซียยังนับว่าเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้ดีกว่าประเทศที่ร่ำรวยทรัพยากรอื่น ๆ[51] รัสเซียมีจำนวนประชากรที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษามากกว่าประเทศอื่นในทวีปยุโรป[64]
ประเทศรัสเซียมีสายการบินประจำชาติคือแอโรฟลอต(รัสเซีย: Аэрофло́т, อังกฤษ: Aeroflot) มีฐานบินหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเชเรเมเตียโว กรุงมอสโคว


ตั้งแต่ปี ค.ศ.2007 รัฐบาลรัสเซียได้ขยายการศึกษาภาคบังคับจากเดิม 9 ปีเป็น 11 ปี กล่าวคือตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาไปถึงระดับอาชีวศึกษา โรงเรียนในรัสเซียจะแบ่งภาคเรียนออกเป็น 4 ภาคเรียน ซึ่งในแต่ละภาคเรียนจะมีวันหยุด 1-2 สัปดาห์

เมืองใหญ่ที่สุดในประเทศรัสเซีย
Rosstat (2009)[65][66]
ที่ เมือง เขตการปกครอง ประชากร ที่ เมือง เขตการปกครอง ประชากร
มอสโก
มอสโก
เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
1 มอสโก มอสโก 11,514,300 11 อูฟา สาธารณรัฐบัชคอร์โตสถาน 1,094,842 โนโวซีบีสค์
โนโวซีบีสค์
เยคาเตรินบุร์ก
เยคาเตรินบุร์ก
2 เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก 5,227,567 12 วอลโกกราด วอลโกกราดโอบลาสต์ 1,091,200
3 โนโวซีบีสค์ โนโวซีบีสค์โอบลาสต์ 1,473,737 13 เปียร์ม เปียร์มไคร 1,090,679
4 เยคาเตรินบุร์ก สเวียร์ดลอฟสค์โอบลาสต์ 1,350,136 14 ครัสโนยาสค์ ครัสโนยาสค์ไคร 1,000,601
5 นิจนีนอฟโกรอด นิจนีนอฟโกรอดโอบลาสต์ 1,250,252 15 โวโรเนช โวโรเนชโอบลาสต์ 1,000,496
6 ซามารา ซามาราโอบลาสต์ 1,164,900 16 ซาราตอฟ ซาราตอฟโอบลาสต์ 900,953
7 คาซาน สาธารณรัฐตาตาร์สถาน 1,143,600 17 ตอลยาตติ ซามาราโอบลาสต์ 720,346
8 ออมสค์ ออมสค์โอบลาสต์ 1,153,971 18 ครัสโนดาร์ ครัสโนดาร์ไคร 710,686
9 เชเลียบินสค์ เชเลียบินสค์โอบลาสต์ 1,130,273 19 อีเจฟสค์ สาธารณรัฐอุดมูร์ต 611,043
10 รอสตอฟ-นา-โดนู รอสตอฟโอบลาสต์ 1,098,991 20 ยารอสลัฟล์ ยารอสลัฟล์โอบลาสต์ 606,336


สัดส่วนของเชื้อชาติ (ค.ศ. 2002)[67]
ชาวรัสเซีย 79.8%
ทาทาร์ 3.8%
ชาวยูเครน 2.0%
ชูวัช 1.1%
เชเชน 0.9%
ชาวอาร์มีเนีย 0.8%
อื่น ๆ/ไม่ระบุ 10.3%

จำนวนประชากรระหว่าง ค.ศ. 1991-2009 (ล้านคน)

จากการประมาณวันที่ 10 พฤศจิกายน 2013 ประเทศรัสเซียมีประชากร 141,773,000 คน จำนวนประชากรของรัสเซียมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1990 ซึ่งเป็นผลจากอัตราการตายที่สูงและอัตราการเกิดที่ต่ำ ในขณะที่อัตราการเกิดในรัสเซียมีพอ ๆ กับประเทศยุโรปอื่น ๆ (อัตราการเกิด 11.3 คนต่อประชากร 1000 คนในปี 2007[69] เทียบกับอัตราเฉลี่ย 10.25 คนต่อประชากร 1000 คนของสหภาพยุโรป[70]) แต่ประชากรกลับลดลงเพราะอัตราการตายสูงกว่า (ในปี 2007 อัตราการตายของรัสเซียคือ 14.7 คนต่อประชากร 1000 คน[69] เมื่อเที่ยบกับอัตราเฉลี่ยของสหภาพยุโรป 10.39 คนต่อ 1000 คน[71]) ปัญหาประชากรที่ลดลงนี้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ[72] รัฐบาลจึงตั้งมาตรการต่าง ๆ ในการลดอัตราการตาย เพิ่มอัตราการเกิด พัฒนาสุขภาพของประชาชน[73] กระทรวงสาธารณสุขของรัสเซียคาดการณ์ว่าอัตราการตายและอัตราการเกิดจะปรับตัวจนเท่ากันภายในปี 2011[73]
รัสเซียมีพื้นที่มากที่สุดในโลก แต่เมื่อเทียบกับประชากรแล้ว ความหนาแน่นเพียงแค่ 40 เปอร์เซนต์เท่านั้น













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น