Translate

จรวดมิสซายMissile

-มันเป็นจรวดติดตามแบบจับความร้อน แก้ทางได้ด้วยการโยนแฟลร์ (ลูกไฟเหมือนพลุ)
-SAMคือถังกลมๆเหมือนถังออกซิเจน
-RPGไม่นำวิถียังยิง ฮ.2ลำ ร่วงมาแล้วในโมกาดิชู
Igla Starstreak Stinger มีทั้งแบบตามความร้อน นำวิถีเลเซอร์ อินฟราเรด-มันคือ UAV แบบพุ่งชนเพื่อทำลายตัวเอง SAM รุ่นใหม่ ๆ แม้กระทั่ง MANPAD ก็ตาม ยิงแฟลร์แค่ชุด-สองชุดเอาไม่อยู่หรอกในบรรดาของลอยได้ฮ.มันเก็บง่ายที่สุดที่ โมกาดีชู แค่ RPG7 ยังสอย ฮ.ได้เลย -เทคนิคการล๊อกเป้า ถือเป็นเทคนิคหนึ่งซึ่งมีหลายแบบย่อยๆแบ่งเป็น 3 ระบบ 1. Target acquire คือการค้นหาเป้าหมายให้พบ อันนี้แตกต่างกันไปตามรุ่นและตามเทคนิคที่ใช้ และยากที่สุด ซึ่งอันนี้ก็พอรู้แค่เทคนิคง่ายๆ ที่ตกยุคไปหมดแล้ว 2. Target Tracking คือการติดตามเป้าหมาย อันนี้จะคล้ายๆกันคือการกำหนดให้ Target อยู่ ณ จุดที่มี posterior สูงที่สุด อันนี้ไม่ยากมาก 3. Flight Control คือการบังคับจรวดให้บินไปยังทิศที่ต้องการ อันนี้ง่ายที่สุด ก็บังคับให้บินตรงไปยังจุดที่ posterior สูงที่สุด เดี๋ยวมันก็บินไปชนเป้าเองเพื่อให้เข้าใจการทำงาน ก็มาดูตัวจรวดกันก่อน 
ปกติจรวดนำวิถี จะประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนนำวิถี ส่วนขับดัน ส่วนควบคุมทิศทาง และหัวรบ ส่วนนำวิถี หรือ Guidance ส่วนนี้จะเป็น sensor ซึ่งทำหน้าที่ในการค้นหาและติดตามเป้าหมาย  ระบบการทำงานก็มีหลากหลาย ทั้งการนำวิถีด้วยความร้อน ด้วยคลื่นเรดาห์ หรือกล้องโทรทัศน์ในการทำงานของจรวด เมื่อ sensor ตรวจพบเจอเป้าหมาย พลยิงก็จะทำการยิง คือ จุดจรวดเพื่อให้ส่วนขับดันทำงาน อุปกรณ์อีเลคโทรนิกส์ของ sensor ก็จะติดตามเป้าหมาย พร้อมกับทำการคำนวณและส่งคำสั่ง ไปให้กับส่วนควบคุมทิศทาง เพื่อปรับครีบหรือปีกของลูกจรวด ให้เลี้ยวติดตามเป้าหมายนั้นไป สุดท้ายเมื่อตัวจรวดเฉียดเข้าใกล้ หรือกระทบเข้ากับเป้าหมายโดยตรง หัวรบก็จะเกิดการระเบิด ข้อจำกัดสำคัญของจรวดนำวิถี ที่จะสามารถติดตามเป้าหมายได้มากน้อยขนาดไหน ขึ้นกับองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการใหญ่ๆ ข้อแรก มุมตรวจจับ (การมองเห็นทางอีเลคโทรนิกส์) ของ sensor...มีมุมหรือความกว้างที่จำกัด หากเป้าหมายมีความเร็วสูง หรือมีการเปลี่ยนทิศทางอย่างกระทันหัน สามารถหลบหลีกออกจาก มุมตรวจจับนี้ได้...จรวดก็ไม่อาจจะติดตามได้ อีกประการหนึ่ง คือ ขีดจำกัดในการปรับเปลี่ยนทิศทางหรือการเลี้ยวของตัวจรวด  เพราะตัวจรวด มีความเร็วค่อนข้างสูง การเลี้ยวด้วยมุมแคบเป็นสิ่งที่กระทำได้ยากยิ่ง...เหมือนกับการขับรถด้วย ความเร็วสูงย่อมต้องใช้วงเลี้ยวที่กว้าง...ดังนั้น การติดตามเป้าหมายแบบ CG ในหนังจึงทำไม่ได้ระบบนำวิถีแบบใหม่ของจรวดนำวิถีด้วยความร้อนแบบเดิมจะจับความร้อนจากท่อไอพ่นของเครื่องบินที่จะปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ออกมา Sensor จะจับความร้อนได้ที่ความยาวคลื่นราว ๆ 4.3 ไมโครเมตร แต่มันก็หลอกล่อด้วย Flare ง่าย ๆ แต่ระบบใหม่จะสามารถจับความร้อนได้ที่ความยาวคลื่น 8-13 ไมโครเมตรซึ่งความยาวคลื่นระดับนี้ในบรรยากาศมีตัวกำเนิดคลื่นแบบนี้น้อยมาก มันก็จะคงอยู่ไม่นาน มีเพียงไอพ่นจากเครื่องบินเท่านั้นที่ปล่อยมันออกมา ระบบนำวิถีแบบนี้เรียกว่า Two Colour IR Seeker ซึ่ง Flare ล่อมันไม่ได้  บางแบบมันจะใช้การถ่ายภาพเป้าหมายเพื่อประมวลผล แบบนี้ Flare ก็ล่อมันไม่ได้  Umtas ATGM ของตุรกี ใช้การถ่ายภาพความร้อนของเป้าหมายมันจะจำคุณลักษณะเป้าหมายได้
////ขอบคุณที่มา เว็บไซด์พันทิพย์ \\\

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น